การเก็บรวบรวมข้อมูลนี้นำไปใช้เพื่อ กิจกรรมทางการตลาดโดยยึดหลัก ปฏิบัติตามนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
อากาศเย็นรวดเร็ว ทำให้ร่างกายปรับสมดุลไม่ทัน หลายคนมีอาการป่วยเฉียบพลันและเรื้อรัง โดย "6 สมุนไพรไทย" เป็นตัวช่วยปรับสมดุลร่างกาย ให้พร้อมรับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีติดบ้านไว้ใช้ได้ทั้งแบบผสมในอาหาร แถมราคาไม่แพง
สมุนไพร ตัวช่วยปรับสมดุลช่วงหน้าหนาว ที่หลายคนมีอาการมือชา เท้าชา และสร้างภูมิคุ้มกันดังนี้
- พริก มีสารแคปไซซิน เป็นสารที่ให้ความเผ็ดร้อนให้ความอบอุ่น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ช่วยให้อาการหนาวชาบริเวณปลายมือ ปลายเท้าลดลง พริกสามารถใส่ในเมนูอาหารได้หลากหลาย เพื่อเพิ่มรสชาติเผ็ดร้อน แต่พริกมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้วไม่ควรกินอาหารรสเผ็ดมาก
-ขิง มีฤทธิ์ร้อน ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ลดการเกิดไข้หวัด ตามตำราแพทย์พื้นฐาน มีการใช้ขิงทั้งสดและแห้ง แก้หวัด แก้ปวดหัว วิธีการรับประทาน สามารถนำขิงมารับประทานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะนำไปชงดื่มเป็นชาร้อน เติมในอาหารที่รับประทาน รับประทานในวันที่อากาศหนาวๆ ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกายได้ทั้งสิ้น
- ข่า ช่วยแก้ไอ แก้หวัด ลดน้ำมูก หอบหืด เหมาะกินข่าในหน้าหนาว เพราะไม่เพียงแต่ช่วยคลายหนาว แต่ยังมีสรรพคุณบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล คนไทยกินข่าหลายรูปแบบ เช่น ใช้หัวข่าใส่ในต้มยำ ต้มข่า ต้มแซ่บ หรือใช้เป็นเครื่องเทศในเครื่องแกง น้ำพริกต่างๆ
- กะเพรา มีรสเผ็ดร้อนในตัว มีกลิ่นฉุนที่ดมแล้วโล่งไปทั้งจมูกและคอ หาง่าย ราคาถูก ทำได้ทั้งเมนูผัดกะเพรา ต้มยำ ต้มแซ่บ ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกายจากฤทธิ์ร้อน
- พริกไทย ช่วยย่อยอาหาร ขับเหงื่อ ทำให้ร่างกายอบอุ่น ตามตำราแพทย์ตะวันออก ช่วงที่อากาศหนาวควรใส่พริกไทย เพิ่มเติมในอาหาร ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เพิ่มภูมิคุ้มกัน กินทั้งพริกไทยป่น หรือพริกไทยสด ถ้าเป็นพริกไทยป่นควรใช้ประมาณครึ่งช้อนชาต่อหนึ่งมื้ออาหาร ผสมลงไปในอาหารแต่ละมื้อ ช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อความหนาว เกิดความอบอุ่นภายในร่างกายให้หายหนาวสั่น แต่ไม่ควรรับประทานพริกไทยมากจนเกินไป อาจทำให้เป็นพิษต่อระบบของร่างกาย เมื่อกินในปริมาณมาก ติดต่อกันหลายวัน
-กระชาย เป็นสมุนไพรให้รสเผ็ดร้อน ทานไปแล้วสามารถทำให้อุณหภูมิในร่างกายของเราสูงขึ้นได้ เหง้าของกระชายรักษาอาการแน่น จุกเสียด น้ำมันหอมระเหยในกระชายมีฤทธิ์ขับลม การรับประทานกระชาย ถือเป็นสมุนไพรอีกตัวเลือกหนึ่งที่หาไม่ยาก และนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งใช้เป็นเครื่องเทศ หรือเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหาร เช่น ผัดฉ่า แกงป่า.
กระชายสกัด: 6 สมุนไพร ท้าลมหนาว ช่วยไหลเวียนเลือด ลดอาการชา ติดบ้านไว้ปรับสมดุล อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/products/